วันพุธที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2555

เลดี้ กาก้า

ประวัติของLady Gaga

โจแอนน์ สเตฟานี เจอร์มาน็อตตา
( Joanne Stefani Germanotta)
หรือเป็นที่รู้จักกันดีในนาม Lady GaGa

เกิดเมื่อวันที่ 28 มีนาคม ค.ศ. 1986

เป็นนักร้อง นักแต่งเพลง และนักดนตรี ชาวอเมริกัน เธอเป็นที่รู้จักในผลงานแนวอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเธอได้รับอิทธิพลจากร็อกเกอร์ อย่างเช่น เดวิด โบวี ,ควีน เช่นเดียวกับนักร้องแนวป็อปแด๊นส์ในยุค 1980 อย่าง มาดอนน่า และจอร์จ ไมเคิล เธอเติบโตในย่านแมนฮัตตัน ที่เธอเรียนที่โรงเรียน Convent of the Sacred Heart และต่อมาเรียนต่อที่ โรงเรียนศิลปะทิสช์แห่งมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก เมื่ออายุ 20 ปี เธอเริ่มทำงานในฐานะนักแต่งเพลงให้กับอินเตอร์สโคปเรคอร์ดส เขียนเพลงให้กับศิลปินอย่าง เดอะพุสซีแคตดอลส์
ในปี ค.ศ. 2008 เลดี้ กาก้า ออกผลงานชุดแรกในชื่อ The Fame ที่มีซิงเกิลฮิตอย่าง "Just Dance" และ "Poker Face" ซึ่งทั้งสองซิงเกิลสามารถขึ้นไปถึงอันดับหนึ่งในชาร์ตบิลบอร์ด ทำสถิติเป็นศิลปินคนแรกในรอบเกือบ 10 ปีที่ซิงเกิล 2 ซิงเกิลแรกขึ้นไปถึงอันดับหนึ่งในชาร์ต นอกจากนี้ "Just Dance" ยังถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลแกรมมีสาขาเพลงแดนซ์ยอดเยี่ยมอีกด้วย

เลดี้ กาก้าเกิดที่ยองเกอร์ส รัฐนิวยอร์ก บิดาและมารดาเป็นนักลงทุนทางอินเทอร์เน็ตเชื้อสายอิตาเลียน ในวัยเด็ก กาก้าเข้าเรียนที่โรงเรียนคอนแวนต์แซเครดฮาร์ตในแมนฮัตตัน และเรียนต่อด้านดนตรีที่โรงเรียนศิลปะทิสช์แห่งมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก แต่ลาออกก่อนจะสำเร็จการศึกษาหลังจากยุติการเรียน กาก้าย้ายออกจากบ้าน และใช้เวลาส่วนใหญ่เตร็ดเตร่อยู่ในแมนฮัตตัน ก่อนจะได้เซ็นสัญญาในที่สุด
กาก้าเซ็นสัญญาครั้งแรกกับค่ายเดฟ แจม เมื่อมีอายุได้ 19 ปี แต่ถูกยกเลิกสัญญาในอีก 3 เดือนให้หลัง ก่อนจะเซ็นสัญญาอีกครั้งในปีเดือนมกราคม ค.ศ. 2008 กับอินเตอร์สโคปเร็คคอร์ด ต้นสังกัดปัจจุบัน ในช่วงแรกนั้น กาก้าทำงานในฐานะนักแต่งเพลงเสียเป็นส่วนใหญ่ ก่อนที่เอค่อนจะมองเห็นถึงศักยภาพในด้านการร้องเพลงของกาก้า และคิดว่า เธอมีความสามารถเพียงพอที่จะออกผลงานเป็นของตนเองได้ กาก้าได้เริ่มทำอัลบั้มแรก The Fame ร่วมกับโปรดิวเซอร์ เรดวัน และได้ออกวางจำหน่ายอัลบั้มในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2008 โดยเปิดตัวที่อันดับ 17 ในชาร์ตบิลบอร์ดและขึ้นสูงสุดที่อันดับ 4

กาก้ายังเริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้น เมื่อ คริสติน่า อากีเลร่า ขึ้นแสดงเพลง "Keep Gettin' Better" ในงานประกาศผลรางวัลเอ็มทีวี วีดีโอ มิวสิก อวอร์ดส ในภาพลักษณ์คล้ายๆกัน จนมีสื่อมวลชนวิจารณ์ว่า คริสติน่านั้นเลียนแบบภาพลักษณ์ของกาก้า ซึ่งกาก้าก็ได้ให้ความเห็นว่า เธอไม่คิดว่า คริสติน่านั้นจะเลียนแบบเธอ แต่ก็ยอมรับว่าจากเหตุดังกล่าวมีส่วนทำไห้เธอเป็นที่สนใจมากยิ่งขึ้น และเธอเองก็รู้สึกขอบคุณ ส่วนคริสติน่าเองก็ได้ออกมาปฏิเสธ และกล่าวเพิ่มเติมว่า ตัวเธอไม่รู้จักเลดี้ กาก้าด้วยซ้ำ

ชื่อ "กาก้า" นั้นได้แรงบันดาลใจมาเพลง "Radio Ga-Ga" ของ ควีน ซึ่งร็อบ ฟูซารี หนึ่งในทีมโปรดิวเซอร์ เป็นคนตั้งให้
















วันอังคารที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี


ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี มีนามเดิมว่า คอร์ราโด เฟโรจี ท่านเกิดเมื่อวันที่ 15 กันยายน พุทธศักราช 2435 ที่ตำบลซานตายิโอวานนี่ แห่งนครฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี่ ซึ่งเป็นนครที่มีชื่อเสียงโด่งดังด้านศิลปกรรมและเป็นที่เกิดของอัจฉริยะทางด้านศิลปะของโลกอีกหลายท่าน บิดาชื่อ นาย Artudo Feroci และมารดาชื่อนาง Santina Feroci

ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ได้เข้าศึกษาต่อที่สถาบันศิลปะแห่งฟลอเรนซ์ สำเร็จการศึกษาเมื่อ ปี พ.ศ. 2457 ผีมือด้านงานศิลปะของท่านดีเด่นเป็นที่ยอมรับกันในหมู่ศิลปิน โดยได้รับการแต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์ที่สถาบันศิลปะแห่งนครฟลอเรนซ์ อิตาลี และท่านสอนอยู่นานจนกระทั่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 แห่งประเทศสยาม มีพระราชประสงค์จะได้ช่างปั้นผู้เชี่ยวชาญในการสร้างอนุสาวรีย์ ท่านศาสตราจารย์ศิลป์จึงได้รับเลือกจากรัฐบาลสยามพร้อมด้วยความสมัครใจของท่านด้วย

ท่านได้เดินทางเข้ามาเมืองไทยในปี พ.ศ. 2466 รับราชการในตำแหน่งช่างปั้นประจำกรมศิลปากร ต่อาเมื่อ พ.ศ. 2492 ศาสตราจารย์ศิลป์ได้เป็นผู้ริเริ่มให้มีการประกวดงานศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 1 โดยการให้รางวัลเกียรตินิยมเหรียญทอง เหรียญเงิน และเหรียญทองแดง แก่ผู้ได้รับรางวัล ให้เป็นที่รู้จักและเผยแพร่ ช่วยส่งเสริมศิลปินไทยให้มีกำลังใจทำงานศิลปะ ท่านศาสตราจารย์ศิลป์ได้เขียนบทความเกี่ยวกับศิลปะสมัยใหม่ แบบอย่าง และวิวัฒนาการในการสร้างสรรค์งานศิลปะอื่น ๆ อีก การวิจัยศิลปโบราณ การปั้น หล่ออนุสาวรีย์รูปบุคคล ประติมากรรม อีกมากมายเกินกว่าจะกล่าวได้ ณ ที่นี้
ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี

ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี มีนามเดิมว่า คอร์ราโด เฟโรจี ท่านเกิดเมื่อวันที่ 15 กันยายน พุทธศักราช 2435 ที่ตำบลซานตายิโอวานนี่ แห่งนครฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี่ ซึ่งเป็นนครที่มีชื่อเสียงโด่งดังด้านศิลปกรรมและเป็นที่เกิดของอัจฉริยะทางด้านศิลปะของโลกอีกหลายท่าน บิดาชื่อ นาย Artudo Feroci และมารดาชื่อนาง Santina Feroci

ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ได้เข้าศึกษาต่อที่สถาบันศิลปะแห่งฟลอเรนซ์ สำเร็จการศึกษาเมื่อ ปี พ.ศ. 2457 ผีมือด้านงานศิลปะของท่านดีเด่นเป็นที่ยอมรับกันในหมู่ศิลปิน โดยได้รับการแต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์ที่สถาบันศิลปะแห่งนครฟลอเรนซ์ อิตาลี และท่านสอนอยู่นานจนกระทั่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 แห่งประเทศสยาม มีพระราชประสงค์จะได้ช่างปั้นผู้เชี่ยวชาญในการสร้างอนุสาวรีย์ ท่านศาสตราจารย์ศิลป์จึงได้รับเลือกจากรัฐบาลสยามพร้อมด้วยความสมัครใจของท่านด้วย

ท่านได้เดินทางเข้ามาเมืองไทยในปี พ.ศ. 2466 รับราชการในตำแหน่งช่างปั้นประจำกรมศิลปากร ต่อาเมื่อ พ.ศ. 2492 ศาสตราจารย์ศิลป์ได้เป็นผู้ริเริ่มให้มีการประกวดงานศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 1 โดยการให้รางวัลเกียรตินิยมเหรียญทอง เหรียญเงิน และเหรียญทองแดง แก่ผู้ได้รับรางวัล ให้เป็นที่รู้จักและเผยแพร่ ช่วยส่งเสริมศิลปินไทยให้มีกำลังใจทำงานศิลปะ ท่านศาสตราจารย์ศิลป์ได้เขียนบทความเกี่ยวกับศิลปะสมัยใหม่ แบบอย่าง และวิวัฒนาการในการสร้างสรรค์งานศิลปะอื่น ๆ อีก การวิจัยศิลปโบราณ การปั้น หล่ออนุสาวรีย์รูปบุคคล ประติมากรรม อีกมากมายเกินกว่าจะกล่าวได้ ณ ที่นี้

ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี

ท่านศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ได้สนับสนุนการอนุรักษ์ศิลปะโบราณและเป็นผู้บุกเบิกการสร้างสรรค์ศิลปะร่วมสมัย ศิลปะสมัยใหม่ของประเทศไทยมาตลอดเป็นเวลาเกือบสี่สิบปีจวบจนท่านได้ถึงแก่กรรมในขณะที่ท่านดำรงตำแหน่งคณบดี ปฎิมากรรมคนแรกของมหาวิทยาลัยศิลปากร ซึ่งท่านได้เป็นผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยศิลปากร ท่านเปรียบเสมือนบิดาของวงการศิลปะร่วมสมัยของประเทศไทย

ผลงานทางด้านศิลปะของท่านก็เป็นสิ่งที่รู้จักและได้รับการกล่าวขานกันอยู่เสมอ ในการสร้างสรรค์งานศิลปะที่เกี่ยวกับพระราชานุสาวรีย์ อนุสาวรีย์ และผลงานศิลปะอื่น ๆ อีกมากมาย เช่น พระปฐมบรมราชานุสรณ์พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช กรุงเทพฯ, พระราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว สวนลุมพินี กรุงเทพฯ, อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี (คุณหญิงโม) นครราชสีมา, อนุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ดอนเจดีย์ สุพรรณบุรี, อนุสาวรีย์พระเจ้าตากสิน วงเวียนใหญ่ ธนบุรี, อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ถนนราชดำเนิน กรุงเทพฯ และอนุสาวรีย์อื่น ๆ อีกหลายแห่ง

พ.ศ. 2502 ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ได้สมรสกับ น.ส.มาลินี เคนนี่ ซึ่งเป็นคนไทยผู้มีส่วนช่วยเหลือท่านมากทั้งชีวิตส่วนตัวและการงานของท่าน

พ.ศ. 2505 ท่านได้ร่างโครงการหอศิลปสมัยใหม่ไว้ให้กับเมืองไทยในอนาคตและได้ถึงแก่กรรมด้วยการผ่าตัดมะเร็งกระเพาะที่โรงพยาบาลศิริราช เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2505 ได้รับพระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุหน้าพลับพลาอิสริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส เมื่อวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2506 เวลา 17.00 น.

ข้อมูลประกอบ พิพิธภัณฑ์ศิลป์ พีระศรี



พระเครื่อง สิ่งสะสม ทุกรายการ รับประกันความแท้ และ ความพอใจ
Copyright 2009 www.collection9.net All Rights Reserved.


ประวัติของ แบงค์ วงแคลช

ชื่อจริง ปรีติ บารมีอนันต์
ชื่อเล่น แบงค์
เกิด 20 ตุลาคม พ.ศ. 2525 (อายุ 27 ปี)
อาชีพ นักร้อง นักแสดง
ปีที่แสดง 2544-ปัจจุบัน
แนวเพลง ร็อก
ค่าย อัพ จี
ส่วนเกี่ยวข้อง แคลช


ปรีติ บารมีอนันต์ (อังกฤษ:Preeti Barameeanant) (ชื่อเล่น แบงค์) เกิดเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2525 เป็นนักร้องนำวงแคลช ศึกษาจบจากโรงเรียนราชวินิตบางแก้ว และระดับอุดมศึกษาจากคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ[1]

แบงค์ได้รวมตัวกับเพื่อนที่เรียนด้วยกันที่โรงเรียนราชวินิตบางแก้ว ก่อตั้งวงที่ชื่อว่า LUCIFER และร่วมประกวดในงาน ฮอตเวฟ มิวสิค อวอร์ด ครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ.2540

แบงค์ได้รับรางวัลนักร้องนำยอดเยี่ยม และรองชนะเลิศอันดับ 1 Hot Wave Music Awards # 3 ปี 2541

แม้ว่าจะไม่ได้รับรางวัลชนะเลิศ แต่ก็ได้รับการติดต่อให้เข้ามาออดิชันทีแกรมมี จนได้เซ็นสัญญากับทางต้นสังกัด และได้เปลี่ยนชื่อวงมาเป็น "แคลช" โดยเริ่มมีผลงานสตูดิโออัลบั้มชุดแรกในปี พ.ศ. 2544

ชื่อชุด One และมีผลงานต่อเนื่อง ซึ่งในปี พ.ศ. 2551 ก็มีผลงานสตูดิโออัลบั้มชุดที่ 6 ที่ชื่อ Rock of Ages

ทางด้านผลงานการแสดง ในปี พ.ศ. 2547 มีผลงานภาพยนตร์เรื่องแรกในชีวิตเรื่อง พันธุ์ X เด็กสุดขั้ว แสดงร่วมกับหนุ่ม วงกะลา และในปี 2551 กับภาพยนตร์เรื่อง ท้า/ชน หรือ Fireball

นอกจากนี้ธุรกิจอื่น แบงค์และเพื่อนร่วมวงแคลชยังทำธุรกิจ ร้านอาหารที่มีชื่อว่า แคลงก์ (Clank) ที่บริเวณถนนศรีนครินทร์ หลังห้างซีคอนสแควร์ ซึ่งเป็นหุ้นส่วนร่วมกับขันเงิน และเดย์ ศิลปินจากวงไทยเทเนี่ยม

แบงค์ยังได้รับ การประกาศยกย่องจาก สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ให้เป็นลูกที่มีความกตัญญูกตเวทีอย่างสูงต่อแม่ประจำปี 2549 โดยจะเข้ารับพระราชทานรางวัลจากพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ ในงาน “วันแม่แห่งชาติ” เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2549

ผลงานของ แบงค์ วงแคลช

อัลบั้มเต็ม
ลำดับที่ ชื่ออัลบั้ม วันวางแผง
1. One 4 ธันวาคม พ.ศ. 2544
2. Soundshake 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546
3. Brainstorm 24 สิงหาคม พ.ศ. 2547
4. Emotion 28 ตุลาคม พ.ศ. 2548
5. Crashing 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549
6. Rock of Ages 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2551


อัลบั้มพิเศษ
ลำดับที่ ชื่ออัลบั้ม วันวางแผง
1. Soundcream 27 มิถุนายน พ.ศ. 2546
2. เพลงประกอบภาพยนตร์พันธุ์ x เด็กสุดขั้ว 30 มิถุนายน พ.ศ. 2547
3. Crazy Clash 10 ธันวาคม พ.ศ. 2547
4. Double Rock Double Hits :
Clash + AB Norma l2 มิถุนายน พ.ศ. 2548
5. Smooth Clash 21 มีนาคม พ.ศ. 2549
6. Very Clash 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2549
7. FAN 18 ธันวาคม พ.ศ. 2550
8. Clash Army : ชีวิต มิตรภาพ ความรัก 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
9. ROCKVOLUTION 7 กันยายน พ.ศ. 2552


โปรเจกต์พิเศษ
ลำดับที่ ชื่ออัลบั้ม วันวางแผง
1. Little Rock Project 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546
2. PACK 4 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547
3. Play 26 มิถุนายน พ.ศ. 2552

คอนเสิร์ต
ลำดับที่ ชื่อคอนเสิร์ต วันแสดง วันวางแผง
1. Rock Size S Concert 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 14 มกราคม พ.ศ. 2547
2. Pack 4 Freedom Romantic Rock Concert 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547 15 มกราคม พ.ศ. 2548
3. Seed Live Concert First Clash 11 มีนาคม พ.ศ. 2549 26 เมษายน พ.ศ. 2549
4. Clash Army Rock Concert 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 17 กันยายน พ.ศ. 2550
5. Maland Rock Day Concert #4
Rock Monster 28 กันยายน พ.ศ. 2551 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551
6. Clash Army Rock Concert II สงครามรัก บนดนตรีร็อก 4 เมษายน พ.ศ. 2552 16 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ซิงเกิลพิเศษ
"หนึ่งมิตรชิดใกล้" (เพลงประกอบภาพยนตร์ บิวตี้ฟูลบ็อกเซอร์)
"Automatic Leader" (เพลงประกอบโฆษณารถมอเตอร์ไซค์)
"ขอเจอสักที (เซียนหรือเกรียน) " (เพลงประกอบโครงการรณรงค์ ไนกี้)
"ซากคน" และ "สักวันฉันจะไปหาเธอ" (เพลงพิเศษใช้เล่นประกอบละครในคอนเสิร์ต Clash Army Rock Concert และถูกรวมไว้กับอัลบั้ม FAN)
"GO!" (เพลงประกอบการแข่ง Thailand High School Football National Championship 2007)

อื่นๆ
ภาพยนตร์เรื่อง พันธุ์ X เด็กสุดขั้ว (พ.ศ. 2547) (แบงค์)
พ็อคเก็ตบุ๊ค A Clash Rockumentory: DarkNote Studio (พ.ศ. 2551)
ภาพยนตร์เรื่อง ท้าชน (Fireball) (พ.ศ. 2552) (แบงค์)